วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทที่2 อะตอมและสมบัติของธาตุ

2.1  แบบจะลองอะตอม 

     แบบจำลองอะตอม” มีอะไรบ้าง

  1. แบบจำลองอะตอมของ ดอลตัน (1808)                                 
  2. แบบจำลองอะตอมของ ทอมสัน (1904)
  3. แบบจำลองอะตอมของ รัทเธอร์ฟอร์ด (1911)
  4. แบบจำลองอะตอมของ โบร์ (1913)
  5. แบบจำลองอะตอม กลศาสตร์ควอนตัม(กลุ่มหมอก) (1926-ปัจจุบัน)




สรุปแนวคิดของ จอห์น ดอลตัน
  1. สสารประกอบขึ้นจากอนุภาคที่เล็กที่สุด เรียกว่าอะตอม มีลักษณะเป็นทรงกลมตันที่ไม่สามารถแบ่งแยกได้อีก
  2. อะตอมไม่สามารถสร้างขึ้นใหม่ หรือทำลายได้
  3. อะตอมของธาตุชนิดเดียวกัน จะมีคุณสมบัติเหมือนกัน
       -ในทางกลับกันอะตอมของธาตุต่างชนิดกัน จะมีสมบัติต่างกัน
  4. เมื่ออะตอมของธาตุต่างชนิดกันมารวมตัวกัน จะเกิดเป็นสารประกอบ
      -โดยสารประกอบจะมีอัตราส่วนของธาตุเป็นเลขลงตัวจำนวนต่ำๆ


สรุปแนวคิดของ ทอมสัน
  1. อะตอมเป็นทรงกลมที่เป็นกลางทางไฟฟ้า ซึ่งประกอบขึ้นด้วยอนุภาคที่มีประจุบวกและอนุภาคที่มีประจุลบ ซึ่งมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน
  2. ประจุบวกและประจุลบของอะตอมจะกระจายตัวอยู่ทั่วทั้งอะตอมอย่างสม่ำเสมอ โดยประจุลบจะฝังตัวอยู่ในเนื้ออะตอมที่มีประจุบวก



สรุปแนวคิดของ รัทเธอร์ฟอร์ด
  1. ภายในอะตอมเป็นพื้นที่ว่างเป็นส่วนใหญ่
  2. เนื่องจากโปรตอนซึ่งมีประจุเป็นบวกนั้นรวมตัวกันอย่างหนาแน่นอยู่ตรงกลางของอะตอม เรียกกว่านิวเคลียส
  3. นิวเคลียสของอะตอมนั้นมีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับขนาดทั้งหมดของอะตอม ถึงแม้ว่านิวเคลียสจะมีขนาดเล็กแต่ก็มีมวลสูงมาก
  4. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบๆนิวเคลียส และเคลื่อนที่เป็นบริเวณกว้าง



สรุปแนวคิดของ โบร์
  1. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่รอบนิวเคลียสเป็นวงโคจร โดยมีขนาด และค่าพลังงานที่แน่นอน
  2. ขนาดวงโคจรของอิเล็กตรอนนั้นจะสำพันธ์กับระดับพลังงาน
    -ที่ระดับพลังงานต่ำ วงโคจรจะมีขนาดเล็ก และอยู่ใกล้กับนิวเคลียส
    - เมื่อระดับพลังงานเพิ่มขึ้น วงโคจรจะมีขนาดใหญ่ขึ้น และอยู่ห่างจากนิวเคลียสมากขึ้น
  3. อิเล็กตรอนสามารถเคลื่อนที่ข้ามจากระดับพลังงานหนึ่งไปยังระดับพลังงานหนึ่งได้ เมื่อมีได้รับหรือสูญเสียพลังงาน
    -เมื่อได้รับพลังงานจะอิเล็กตรอนจะข้ามขึ้นไปยังระดับพลังงานที่สูงขึ้น(ไกลจากนิวเคลียส)
    -เมื่อสูญเสียพลังงานอิเล็กตรอนจะข้ามลงมายังระดับพลังงานที่ต่ำลง (เข้าใกล้นิวเคลียส)




สรุปแนวคิดทาง กลศาสตร์ควอนตัม
  1. อิเล็กตรอนมีสมบัติเป็นทั้งอนุภาคและคลื่น ทำให้ไม่สามารถระบุตำแหน่งที่แน่นอนของอิเล็กตรอนได้
  2. แต่สามารถระบุได้ว่าบริเวณใดที่มีโอกาศพบอิเล็กตรอน
  3. อิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบๆนิวเคลียสในลักษณะของกลุ่มหมอกที่มีประจุเป็นลบ
    -ยิ่งเข้าใกล้นิวเคลียสโอกาศที่พบอิเล็กตรอนยิ่งสูงขึ้น
  4. กลุ่มหมอกหรือบริเวณที่มีโอกาศพบอิเล็กตรอน เรียกว่า ออร์บิทัล
     -  ออร์บิทัลมีหลายรูปแบบ เช่น s, p, d และ f




2.2 อนุภาคในอะตอมและไอโซโทป
        
        ปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1908) โรเบิร์ต แอนดรูส์ มิลลิแกน ได้ทำการหาค่าประจุของอิเล็กตรอนโดยอาศัยการสังเกตหยดน้ำมันในสนามไฟฟ้า


 

    ปี พ.ศ. 2429 (ค.ศ. 1886) ออยเกน โกลด์ชไตน์ ได้ทำการดัดแปลงหลอดรังสีแคโทดโดยการสลับตำแหน่งของแคโทดและแอโนด ซึ่งเมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าเข้าไปพบว่า ฉากเกิดการเรืองแสง แสดงว่ามีรังสีออกมาจากรังสีแอโนด ซึ่งเขาเรียกรังสีชนิดนี้ว่า รังสีแคแนล หรือ รังสีแอโนด เขาทำการทดลองกับแก๊สหลายชนิดพบว่ารังสีแอโนดมีค่าไม่คงที่ จนกระทั่งทีมของรัทเทอร์ฟอร์ดและทอมสันได้ทำการศึกษาในแนวเดียวกันแต่บรรจุไฮโดรเจนในหลอดแทน ทำให้ได้ข้อสรุปว่าอนุภาคบวกมีค่าประจุเท่ากันกับอิเล็กตรอน และหาค่ามวลของประจุบวกได้มากกว่ามวลของอิเล็กตรอนประมาณ 1,840 เท่า เรียกอนุภาคนี้ว่า โปรตอน
    ในปี พ.ศ. 2451 (ค.ศ. 1932) เจมส์ แชดวิก ได้ทดลองยิงอนุภาคแอลฟาไปยังอะตอมของธาตุต่างๆ และทดสอบผลการทดลองด้วยเครื่องมือที่มีความเที่ยงสูงทำให้ทราบว่าในนิวเคลียสมีอนุภาคที่เป็นกลางทางไฟฟ้าและเรียกอนุภาคนี้ว่า นิวตรอน ดังนั้น อิเล็กตรอน โปรตรอน นิวตรอน จึงเป็น อนุภาคในอะตอม 


 อะตอมประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สำคัญ 3 อนุภาค ได้แก่
-โปรตอน
-นิวตรอน
-อิเล็กตรอน
อนุภาค
สัญลักษณ์
ประจุ(คูลอมบ์)

น้ำหนัก(กิโลกรัม)

โปรตอน
p
+1.60x10-19
1.67x10-27
นิวตรอน
n
ไม่มีประจุ
1.67x10-27

อิเล็กตรอน

e-
-1.60x10-19
9.11x10-31

        อะตอมที่เป็นกลางทางไฟฟ้าจะมีประจุบวกเท่ากับประจุลบ แสดงว่าในอะตอมมีจำนวนโปรตอนเท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนซึ่งในอะตอมจะมีโปรตอนจำนวนเท่ากับ "เลขอะตอม"

                                                      จำนวนโปรตอน = จำนวนอิเล็กตรอน

         โปรตอนกับนิวตรอนเป็นอนุภาคที่มีน้ำหนักมากเมื่อเทียบกับอิเล็กตรอน ดังนั้นมวลของอะตอมก็คือจำนวนโปรตอนรวมกับจำนวนนิวตรอน นั่นคือ "เลขมวล"
                                                       
เลขมวล = จำนวนโปรตอน + จำนวนนิวตรอน

                เราสามารถเขียนเป็นสัญลักษณ์เพื่อระบุเลขอะตอมและเลขมวลได้ดังนี้



                                 
ไอโซโทป
   ธาตุชนิดเดียวกัน  โปรตอนเท่ากัน   นิวตรอนต่างกัน

ไอโซโทน   ธาตุต่างชนิดกัน  นิวตรอนเท่ากัน   โปรตอนไม่เท่ากัน

ไอโซบาร์    ธาตุต่างชนิดกัน  มวลเท่ากัน   นิวตรอนไม่เท่ากัน


2.3  การจัดเรียงอิเล็กตรอนในอะตอม

        จากการศึกษาแบบจำลองอะตอมโดยใช้สมการทางคณิตศาสตร์ขั้นสูงที่เรียกว่าสมการคลื่น คำนวณหาค่าพลังงานอิเล็กตรอน ทำให้ทราบว่าอะตอมประกอบด้วยโปรตอนและนิวตรอนอยู่รวมกันในนิวเคลียส โดยมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่รอบ ๆ และอยู่ในระดับพลังงานต่างกัน อิเล็กตรอนเหล่านั้นอยู่กันอย่างไร ในแต่ละระดับพลังงานจะมีจำนวนอิเล็กตรอนสูงสุดเท่าใด ให้นักเรียนพิจารณาข้อมูลจากตารางแสดงการจัดเรียงอิเล็กตรอนของธาตุบางธาตุ

เวเลนซ์อิเล็กตรอน
      คือ จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุดหรือสูงสุด ของแต่ละธาตุจะมีอิเล็กตรอนไม่เกิน 8

การจัดอิเล็กตรอน มีความสัมพันธ์กับการจัดหมู่และคาบอย่างไร

  1. เวเลนซ์อิเล็กตรอน จะตรงกับเลขที่ของหมู่ ดังนั้น ธาตุที่อยู่หมู่เดียวกันจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากัน
  2. จำนวนระดับพลังงาน จะตรงกับเลขที่ของคาบ ดังนั้น ธาตุในคาบเดียวกันจะมีจำนวนระดับพลังงานเท่ากัน เช่น 35 Br มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนดังนี้ 2 , 8 , 18 , 7 ดังนั้น Br จะอยู่ในหมู่ที่ 7 เพราะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 7 และอยู่ในคาบที่ 4 เพราะมีจำนวนระดับพลังงาน 4

หลักการจัดเรียงอิเล็กตรอน

  1. จะต้องจัดเรียงอิเล็กตรอนเข้าในระดับพลังงานต่ำสุดให้เต็มก่อน จึงจัดให้อยู่ระดับพลังงานถัดไป
  2. เวเลนซ์อิเล็กตรอนจะเกิน 8 ไม่ได้
  3. จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดเข้าไปของธาตุในหมู่ IA , IIA เท่ากับ 8 ส่วนหมู่ IIIA – VIIIA เท่ากับ 18

การจัดอิเล็กตรอนในระดับพลังงานย่อย
จากการศึกษาสเปกตรัมและกลศาสตร์ควันตัมของคลื่น ทำให้ทราบว่า ระดับพลังงานของอิเล็กตรอน ในระดับพลังงานเดียวกัน ยังแบ่งเป็นระดับพลังงานย่อยต่างๆ ซึ่งมี 4 ระดับพลังงานย่อย ได้แก่ s , p , d , f subshell แต่ละระดับพลังงานย่อย จะมีจำนวนอิเล็กตรอนต่างๆกัน
         จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานที่ 1 มีได้มากที่สุดคือ 2 อิเล็กตรอน ระดับพลังงานที่ 2 มีได้มากที่สุด 8 อิเล็กตรอน สำหรับระดับพลังงานที่ 3 มีได้มากที่สุด 18 อิเล็กตรอน

หลักในการจัดเรียงอิเล็กตรอนในแต่ละระดับพลังงานเป็นดังนี้

  • จำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานนอกสุด ( valence electron ) มีได้ไม่เกิน 8 อิเล็กตรอน และจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานวงถัดเข้ามามีได้ไม่เกิน 18 อิเล็กตรอน
  • ระยะห่างระหว่างแต่ละระดับพลังงานจะไม่เท่ากัน n = 1 และ n = 2 จะอยู่ห่างกันมากที่สุด และระยะห่างระหว่างระดับพลังงานจะน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อระดับพลังงานสูงขึ้น
  • จำนวนระดับพลังงานของอะตอมของธาตุจะบอกถึง “ คาบ ”
  • จำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนจะบอกถึง “ หมู่ ”





2.4ตารางธาตุและสมบัติของธาตุหมู่หลัก

2.4.1 วิวัฒนาการของการสร้างตารางธาตุ
    ปี พ.ศ. 2360 (ค.ศ. 1817)  โยฮันน์ โวล์ฟกัง เดอเบอไรเนอร์ พยายามจัดธาตุเป็นกลุ่มๆละ 3 ธาตุตามสมบัติที่คล้ายคลึงกันเรียกว่า ชุดสาม


    พ.ศ. 2407 (ค.ศ. 1864) จอห์น นิวแลนด์ เสนอกฎการจัดธาตุเป็นหมวดหมู่ เรียงธาตุตามมวลอะตอมจากน้อยไปมาก พบว่าธาตุที่ 8 จะมีสมบัติเหมือนกับธาตุที่ 1 เสมอ ตารางธาตุมีวิวัฒนาการมาเรื่อยๆจนถึงปัจจุบันนี้

  
ตารางธาตุในปัจจุบัน

2.4.2 กลุ่มของธาตุในตารางธาตุ

    แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ ธาตุโลหะ ธาตุกึ่งโลหะ และธาตุอโลหะ โดยธาตุโลหะจะอยู่ทางซ้ายมือของตารางธาตุ ธาตุกึ่งโลหะจะอยู่บริเวณที่เป็นขั้นบันได และธาตุอโลหะจะอยู่ทางขวามือของตารางธาตุ ยกเว้นไฮโดรเจนที่อยู่ทางซ้ายมือของตาราง

2.4.3 ขนาดอะตอม 


2.4.4 ขนาดไอออน

     ไอออนในคาบเดียวกันจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ไอออนบวก ที่มาจากโลหะ และไอออนลบที่มาจากอโลหะ แนวโน้มของขนาดไอออน ตามคาบจะเล็กลงจากซ้ายไปขวา โดยมีขนาดใหญ่ขึ้นเมื่อถึงไอออนลบ จากนั้นก็จะมีขนาดเล็กลงจากซ้ายไปขวาเช่นเดิม แนวโน้มขนาดไอออนในคาบเดียวกัน



2.4.5 พลังงานไอออไนเซชัน

    พลังงานปริมาณน้อยที่สุดที่ทำให้อิเล็กตรอนหลุดจากอะตอมในสถานะแก๊สเรียกว่า พลังงานไอออไนเซชัน (IE) โดยค่า IE แสดงถึงความยากง่ายในการทำให้อะตอมในสถานะแก๊สกลายเป็นไอออนบวก โดย IE มากแสดงว่าทำให้เป็นไอออนบวกได้ยาก
ถ้าเป็นธาตุที่มีหลายอิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานไอออไนเซชันหลายค่า พลังงานน้อยที่สุดที่ทำให้อิเล็กตรอนตัวแรกหลุดออกมาจากอะตอมที่อยู่ในสถานะแก๊สเรียกว่า พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่หนึ่ง

2.4.6 สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน

    พลังงานที่ถูกคายออกมาเมื่ออะตอมในสถานะแก๊สได้รับอิเล็กตรอน 1 อิเล็กตรอน เรียกว่า สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (EA) ถ้าค่า EA เป็นบวก หมายความว่าอะตอมคายพลังงานเมื่อได้รับอิเล็กตรอน แสดงว่าอะตอมของธาตุนั้นมีแนวโน้มที่จะรับอิเล็กตรอนได้ดี

2.4.7 อิเล็กโทรเนกาติวิตี

    อิเล็กโทรเนกาติวิตี (EN) คือความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ที่ใช้ร่วมกันในโมเลกุลของสาร เมื่อพิจารณาค่า EN ของธาตุในหมู่เดียวกันจะพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามเลขอะตอม


2.5 ธาตุแทรนซิชัน

1. ธาตุแทรนซิชัน เป็นโลหะซึ่งส่วนใหญ่มีจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความหนาแน่นสูง

2. เวเลนต์อิเล็กตรอนของธาตุแทรนซิชันในคาบที่ 4 เท่ากับ 2 ยกเว้นโครเมียม กับทองแดง ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 1

3. อิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดเข้ามานับจากระดับพลังงานของเวเลนซ์อิเล็กตรอน ส่วนใหญ่มีจำนวนไม่เท่ากัน ส่วนของธาตุหมู่ IA และหมู่ IIA ในคาบเดียวกันมีจำนวนอิเล็กตรอนในระดับพลังงานถัดเข้ามาเท่ากับ 8

4. รัศมีอะตอมมีขนาดใกล้เคียงกันและมีแนวโน้มลดลงเมื่อเลขอะตอมเพิ่มขึ้นตามคาบ

5. ความหนาแน่นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามคาบ

6. ธาตุแทรนซิชันมีสมบัติคล้ายคลึงกันตามคาบมากกว่าธาตุอื่นๆ ในตารางธาตุ



2.6 ธาตุกัมมันตรังสี

เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดกับไอโซโทปกัมมันตรังสีเพราะนิวเคลียสมีพลังงานสูงมากและไม่เสถียรจึงปล่อยพลังงานออกมาในรูปของอนุภาคหรือรังสีแอลฟา(α) บีตา(β) และแกมมา(γ)

     1.รังสีแอลฟา (สัญลักษณ์: α) คุณสมบัติ เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม (4 2He) มี p+ และ n อย่างละ 2 อนุภาค ประจุ +2 เลขมวล 4 อำนาจทะลุทะลวงต่ำ เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วลบ

     2.รังสีบีตา (สัญลักษณ์: β) คุณสมบัติ เหมือน e- อำนาจทะลุทะลวงสูงกว่า α 100 เท่า ความเร็วใกล้เสียง เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้

      3.รังสีแกมมา (สัญลักษณ์: γ) คุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) ที่มีความยาวคลื่นสั้นมากไม่มีประจุและไม่มีมวล อำนาจทะลุทะลวงสูงมาก ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า เกิดจากการที่ธาตุแผ่รังสีแอลฟาและแกมมาแล้วยังไม่เสถียร มีพลังงานสูง จึงแผ่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อลดระดับพลังงาน

อันตรายจากไอโซโทปกัมมันตรังสี

        กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวันของมนุษย์มีโอกาสได้รับรังสีจากไอโซโทปรังสีเข้าสู่ร่ากายอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังได้รับรังสีคอสมิกอีกด้วย โดยรังสีต่างๆเหล่านี้มีแหล่งกำเนิดมาจากธรรมชาตินอกจากนั้นบางอย่างก็เป็นรังสีที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้นมา เช่น รังสีจากเครื่องเอกซ์เรย์

ประโยชน์จากการใช้ธาตุกัมมันตรังสี
          1. ด้านธรณีวิทยา การใช้คาร์บอน-14  (C-14) คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ
          2. ด้านการแพทย์ ใช้ไอโอดีน-131 (I-131) ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไธรอยด์ โคบอลต์-60 (Co-60) และเรเดียม-226 (Ra-226) ใช้รักษาโรคมะเร็ง
          3. ด้านเกษตรกรรม ใช้ฟอสฟอรัส 32 (P-32) ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ  และใช้โพแทสเซียม-32 (K–32) ในการหาอัตราการดูดซึมของต้นไม้
          4. ด้านอุตสาหกรรม ใช้ธาตุกัมมันตรังสีตรวจหารอยตำหนิ เช่น รอยร้าวของโลหะหรือท่อขนส่งของเหลว ใช้ธาตุกัมมันตรังสีในการ ตรวจสอบและควบคุมความหนาของวัตถุ ใช้รังสีฉายบนอัญมณีเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
          5. ด้านการถนอมอาหาร ใช้รังสีแกมมาของธาตุโคบอลต์-60 (Co–60) ปริมาณที่พอเหมาะใช้ทำลายแบคทีเรียในอาหาร  จึงช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานขึ้น
          6. ด้านพลังงาน มีการใช้พลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของยูเรีเนียม-238 (U-238) ต้มน้ำให้กลายเป็นไอ แล้วผ่านไอน้ำไปหมุนกังหัน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า  




2.7 การนำธาตุไปใช้ประโยชน์และผล
      กระทบต่อสิ่งมีชีวิต
ประโยชน์
    -ธาตุโลหะ มีสมบัติการนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดีจึงนิยมนำมาเป็นอุปกรณ์นำไฟฟ้าเช่นนำทองแดงมาทำสายไฟน้ำสังกะสีมาทำขั้วไฟฟ้าของถ่านไฟฉาย 
    -ธาตุกึ่งโลหะ เช่นซิลิกอน เจอร์เมเนียม มีสมบัติก้ำกึ่งระหว่างโลหะกับโลหะ นำไฟฟ้าได้แต่นำไม่ดีนิยมนำมาทำเป็นสารกึ่งตัวนำ
    -ธาตุหมู่ 18 เป็นธาตุที่เฉยต่อการเกิดปฏิกิริยาจึงนำมาใช้ประโยชน์ตามสมบัติของแก๊สมีสกุลเช่นนำ-ฮีเลียมซึ่งมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศมาบรรจุในบอลลูนและเรือเหาะแทนแก๊สไฮโดรเจน
    -ธาตุมีไอโซโทปกัมมันตรังสี สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ดังที่กล่าวไว้ในหัวข้อ 2.6.6 และธาตุุที่อยู่กลุ่มเดียวกันจะมีสมบัติคล้ายกันแต่ถ้าชุดชนิดยังมีสมบัติเฉพาะตัวที่แตกต่างกันด้วยดังนั้นการนำไปใช้ประโยชน์จึงมีความจำเพาะแตกต่างกันการที่ธาตุแต่ละชนิดมีสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกันทำให้บางครั้งนักวิทยาศาสตร์ต้องนำธาตุมากกว่า ชนิดมาละลายหรือผสมกันเพื่อให้มีสมบัติตามที่ต้องการและนำไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายมากขึ้น 

ผลกระทบต่อสิ่วมีชีวิต
        ธาตุบางชนิดส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อมเช่นตะกั่วได้ถูกใช้ในอุตสาหกรรมผลิตแบตเตอรี่ ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตเช่นถ้าตะกั่วปนเปื้อนในน้ำอาจจะส่งผลต่อการเจริญเติบพันธ์ระบบโลหิตและระบบประสาทของสัตว์ในแหล่งน้ำนั้นได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่3 พร้อมเฉลย

  1.   จำนวนพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล  CH4 , SiCl4 , NaCl , NH3  เป็นกี่พันธะมีค่าเรียงตามลำดับ    คือข้อใด     ก.  4 , 4 , 0 , 3      ข.  6 ,...