วันพฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทที่1 ความปลอดภัยและทักษะในปฏิบัติการเคมี

1.1 ความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมี

    อันตรายทางด้านเคมี ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องการสารเคมีจะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าสารเคมีที่เกี่ยวข้องนั้นอาจมีอันตรายอย่างเฉียบพลัน อันเกิดจากสารระเบิด ไฟไหม้ การระคายเคืองต่าง ๆ จากพิษของสารเคมี รวมทั้งผลที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพในระยะยาว ดังนั้นผู้ทำงานจะต้องเข้าในถึงพิษภัยของสารที่ตัวเองเกี่ยวข้อง อันตรายในด้านเคมีนี้จะกล่าวถึง ประเภทของสารเคมี อันตรายจากสารเคมีในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งผลที่มีต่อสุขภาพ ข้อมูลและสัญลักษณ์ที่พึงทราบและการกู้ภัยเมื่อเกิด เหตุการณ์   อ่านต่อ...



1.2 อุบัติเหตุจากสารเคมี
    อุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้ในห้องทดลอง หากผู้ทดลองทำด้วยความประมาทเลินเล่อหรือขาดความระมัดระวังขาดความเอาใจใส่ในเรื่องที่ทำการทดลอง ทางหนึ่งที่จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุก็คือผู้ทำการทดลองจะต้องอ่านข้อควรปฏิบัติในห้องทดลองเสียก่อน และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด การเกิดอุบัติเหตุในห้องทดลองนั้นมีได้หลายกรณี จะขอแยกกล่าวเป็นข้อ ๆ พร้อมทั้งวิธีแก้ไขดังนี้  อ่านต่อ...




1.3 การวัดปริมาณสาร
    อุปกรณ์วัดปริมาตร (volumetric apparatuses) เป็นอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ ใช้สำหรับวัดปริมาตรของเหลวที่ต้องการความแม่นยำ (accuracy) สูง มีขีดและตัวเลขแสดงปริมาตร ซึ่งได้รับการสอบเทียบและกำหนดความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ (tolerance of error)  
อุปกรณ์วัดปริมาตร ได้แก่   อ่านต่อ....




1.4  หน่วยวัด
               หน่วย SI พื้นฐาน มี 7 หน่วย ได้แก่
    1. มวล - กิโลกรัม (kg)
    2. ความยาว - เมตร (m)
    3. เวลา - วินาที (s)
    4. อุณหภูมิ - เคลวิน (K)
    5. ปริมาณของสาร - โมล (mol)
    6. กรพแสไฟฟ้า - แอมแปร์ (A)
    7. ความเข้มแห่งการส่องสว่าง - แคนเดลลา (cd)

             หน่วย SI อนุพันธ์
    1. ปริมาตร - ลูกบาศก์เมตร (m³)
    2. ความเข้มข้น - โมลต่อลูกบาศก์เมตร (mol/m³)
    3. ความหนาแน่น - กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (kg/m³)



1.5 วิธีการทางวิทยาศาสตร์
            เป็นการศึกษาหาความรู้ทางวิทยาศสาตร์ที่มีแบบแผนขั้นตอน โดยภาพรวมทำได้ดังนี้
  1. การสังเกต - อาศัยประสาทสัมผัะสทั้ง 5 โดยจะนำไปสู่ข้อสงสัยหรือตั้งคำถามที่ต้องการคำตอบ
  2. การตั้งสมมติฐาน - เป็นการคาดเดาคำตอบของคำถามหรือปัญหา โดยมีพื้นฐานจากการสังเกต ความรู้ หรือประสบการณ์เดิม
  3. การตรวจสอบสมมติฐาน - เป็นกระบวนการหาคำตอบของสมมติฐาน โดยมีการออกแบบการทดลองที่มีการควบคุมปัจจัยต่างๆ
  4. การรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ผล - เป็นการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนทั้งหมดมารวบรวม วิเคราะห์ และอธิบายข้อเท็จจริง
  5. การสรุปผล - เป็นการสรุปความรู้หรือข้อเท็จจริงที่ได้จากการตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ก่อนหน้า




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

แบบฝึกหัดบทที่3 พร้อมเฉลย

  1.   จำนวนพันธะโคเวเลนต์ในโมเลกุล  CH4 , SiCl4 , NaCl , NH3  เป็นกี่พันธะมีค่าเรียงตามลำดับ    คือข้อใด     ก.  4 , 4 , 0 , 3      ข.  6 ,...